มะเร็งต่อมลูกหมาก 4 ระยะ💥‼
#เช็คด่วนว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ หรือยัง🧐
ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชายต่อลงมาจากกระเพาะปัสสาวะ และล้อมรอบท่อปัสสาวะส่วนบน มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำเมื่อกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ แต่หากสภาพเซลล์ภายในของต่อมลูกหมากมีการแบ่งตัวมากขึ้นอย่างผิดปกติ เป็นสัญญาณว่า "โรคมะเร็งต่อมลูกหมากกำลังก่อตัวขึ้นโดยที่เราไม่อาจรับรู้ได้"😱 แม้จะยังไม่มีใครทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอายุ และภาวะความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือดเมื่ออายุมากขึ้น
.
โดยฮอร์โมนเพศชายมักจะมีระดับลดลงในชายสูงอายุ อีกทั้งการศึกษาพบว่า..อาหารที่มีไขมันสูง🍟🌭🥤อาจมีส่วนก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เราสามารถระวังติดตามคอยตรวจอย่างสม่ำเสมอได้
.
อีกวิธีการที่มักใช้ร่วมกันคือ "การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือด" นำมาวัดค่า ที่เรียกว่า PSA (Prostate- specific antige) ถ้าระดับ PSA ในเลือดมีค่าสูง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ยังมีการตรวจอัลตราชาวนด์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก โคยการใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนัก และการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ทั้งนี้.. 💉อุบัติการณ์ของโรคจะพบมากขึ้นมื่อผู้ปวยมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะพบในชายไทยมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
.
อาการของโรคแบ่งออกเป็น 4 ระยะ🗂
🔻ระยะเริ่มแรก มะเร็งมีขนาดเล็กอยู่ในต่อมลูกหมาก มักไม่ก่อให้เกิดอาการใคๆ การตรวจทางทวารหนักมักไม่ค่อยพบ
.
🔻ระยะที่ 2 มะเร็งมีนาดใหญ่ขึ้นแต่ยังอยู่ในต่อมลูกหมาก มีการกดเบียดท่อปัสสาวะส่วนบน ทำให้เกิดการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก
.
🔻ระยะที่ 3 มะเร็งขยายตัว จนอุดกั้นท่อปัสสาวะ และกระจายออกนอกท่อปัสสาวะ ทำให้ต้องออกแรงเบ่ง จะรู้สึกว่าปัสสาวะไม่ออก อาจมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และอาจมีปัสสาวะเป็นเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ สามารถคลำและตรวจพบได้โดยการตรวจทางทวารหนัก
.
🔻ระยะที่ 4 โดยในช่วง 2-3 ปีหลังจากผ่านระยะต่างๆ เข้าสู่ที่เรียกว่า "โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้ากระดูก"😵 มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง กระทั่งเข้าสู่กระดูก และอวัยวะใกล้เคียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อสะโพก กระดูกซี่โครง หัวไหล่ ขั้นนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด แขน ขา บวม และบางรายอาจจะเดินไม่ได้ เป็นอัมพาตเนื่องจากมีกระดูกสันหลังหักไปกดทับไขสันหลัง ได้รับความเจ็บปวดทรมานมาก
🔰🔰🔰การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก🔰🔰
วิธีการรักษาในระยะเริ่มแรก ที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในหลายวิธี
1.) วิธีการผ่าตัด
โดยมีทั้้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
🚫ข้อเสีย :: หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจมีอาการควบคุมปัสสาวะไม่ได้ และสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
2.) การฉายรังสี
โดยการฉายรังสีเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง หรือการฝังแร่เข้าไปบริเวณต่อมลูกหมาก
🚫ข้อเสีย :: อาจทำให้เกิดอาการอุจจาระบ่อย มีการระคายเคืองที่ทวารหนัก และปัสสาวะลำบาก
3.) การนวดปรับสมดุล
การนวดถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้ โดยจุดประสงค์ของการนวดคือ "การฟื้นฟูหลังจากผ่าตัด" เพื่อช่วยให้อาการหลังผ่าตัดดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นการยับยั้งอาการต่อมลูกหมากโต
🚫ข้อเสีย :: หากแผลยังไม่หายสนิท หรือต่อมลูกหมากกลับมาโตอีก จะไม่าสามารถทำการนวดได้
📝👨⚕อย่างไรก็ตาม.. การรักษาเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้ากระดูก เป็นเพียงแต่บรรเทาอาการปวดกระดูก และเป็นการประทังชีวิตผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ บางรายอาจอยู่ได้ถึง 5 ปีก่อนเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับโรคและสุขภาพของผู้ป่วย
"หากมะเร็งต่อมลูกหมากลามไปกระดูก ร้อยละ 80-90 แล้ว ในระยะที่เรียกว่า 3-4 ผู้ป้วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก" ฉะนั้น เราควรพยายามใช้ชีวิตโดยไม่เครียด เพราะความครียดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิคโรคนี้ รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะจากเนื้อสัตว์ต้องระวังเป็นพิเศษ และในครอบครัวที่พบว่าญาติพี่น้องมีอาการของโรค ในระยะยาวควรมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมากอย่างสม่ำเสมอ
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น